จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เหง้าขิงแห้ง

 เหง้าขิงแห้ง บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนชื่อเครื่องยา ขิง
สมุนไพรได้จาก เหง้าแก่
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก สะเอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe 

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เหง้ามีลักษณะเป็นข้อๆ แบนในแนวนอน แตกแขนง รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็กๆ เปรียบเสมือนนิ้ว ขนาดยาว 3- 16 เซนติเมตร กว้าง 3-4 เซนติเมตร และหนา มากกว่า 2 เซนติเมตร ผิวนอกสีเหลือง หรือน้ำตาลอ่อน มีแนวย่นตามยาว ภายในมีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล เป็นเสี้ยน มี fiber มาก กลิ่นหอมเฉพาะ ผงสีเหลืองอ่อน รสหวาน เผ็ดจัด ร้อน
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 8% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 2% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 4.5% w/w ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 10% w/w ปริมาณน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ไม่น้อยกว่า 1.8% v/w ปริมาณ gingerol และgingerdiones ไม่น้อยกว่า 0.8%ปริมาณ shogaols ไม่น้อยกว่า 0.2%
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้เหง้า รักษาอาการท้องอืด เฟ้อ เสียดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดเกร็งช่องท้อง แก้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร รักษาอาการหวัด รักษาอาการปวดศีรษะเนื่องจากไมเกรน และรักษาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงธาตุไฟ ฆ่าพยาธิ สรรพคุณโบราณ ขิงแห้ง แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้หอบ แก้ลม แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน อาเจียน ส่วนขิงสด ใช้แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ผายลมและเรอ แก้อาเจียน ยาขมเจริญอาหาร ขับน้ำดีช่วยย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดัน
ตำรายาไทย: มีการใช้เหง้าขิงใน “พิกัดจตุวาตะผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลม ประกอบด้วยผล 4 อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ และโกฐหัวบัว มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมกองริดสีดวง “พิกัดเบญจกูล” คือการจำกัดจำนวนตระกูลยาที่มีรสร้อน 5 อย่าง มี เหง้าขิงแห้ง ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง มีสรรพคุณกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ ”พิกัดตรีรัตตะกุลา (ตรีสัตกุลา)” คือการจำกัด ตัวยาอันสามารถ 3 อย่าง ประกอบด้วย เหง้าขิงสด ผลผักชีลา และเทียนดำ ใช้อย่างละเท่าๆกัน ในการบำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้อาการธาตุ         นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ขิงแห้ง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 3 ตำรับ คือ
        1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของขิงแห้ง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
        2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของขิง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของขิงแห้ง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขิง(แห้ง) 250 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัมหรือ ยาผงที่มีเหง้าขิง (แห้ง) ซองละ 1 กรัม มีขนาดใช้ดังนี้
        1.บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง รับประทาน 2-4 กรัม ต่อวัน
        2.ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ รับประทานวันละ 1-2 กรัม
        3.ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัม ก่อนการผ่าตัด 1 ชั่วโมง


องค์ประกอบทางเคมี:
สารที่ให้รสเผ็ดร้อน gingerols. สาร shogaols, น้ำมันหอมระเหยและชัน(oleoresin)4.0-7.5% ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย 1.0-3.3% สารประกอบหลักคือsesquiphellandrene hydrocarbon 30-70% (เป็นสารที่ให้กลิ่นหอม) ได้แก่ (-)-zingiberene, (+)-ar-curcumene, (-)-?-sesquiphellandrene
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจหนู ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด แก้ปวด ลดไข้ ขับน้ำดี ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวเพิ่มขึ้น ยับยั้งเชื้อ H.pylori ต้านการอักเสบ ปกป้องไต ปกป้องตับ ต้านมะเร็ง ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดน้ำตาลในเลือด 
การศึกษาทางคลินิก:
ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่เกี่ยวเนื่องจากการเมารถ เมาเรือ หลังการผ่าตัด และการอาเจียนจากการตั้งครรภ์ บรรเทาปวดของผู้ป่วยข้ออักเสบ ปวดหลังเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดบวม ป้องกันและเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
ปัจจุบัน เหง้าขิงแห้ง มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพร กำลังเสือโคร่ง หมอทองอินทร์
วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี) ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
ราคาขวดละ   750  บาท
 ยาสามัญประจำบ้าน  ทะเบียนยาเลขที่ G291/55 บรรจุ 750 ซี.ซี.
สั่งซื้อสินค้าได้ที่ : คุณประการ บัวบาน โทร. 090-7854589
 Email : prakarn.6121977@gmail.com  

--------------------------------------------------------------------------
สั่งซื้อสินค้า โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ได้ที่
จัดจำหน่ายโดย : บริษัท ฟีนิกซ์เฮิร์บ 999 เน็ตเวิร์ค จำกัด

ธนาคาร กรุงไทย สาขาเรณู ออมทรัพย์ 435-0-26023-4

    สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ : คุณประการ บัวบาน โทร. 090-7854589

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น